เมนู

[75] 1. อุปัฏฐิตสติบุคคล บุคคลผู้มีสติอันเข้าไปตั้งไว้แล้ว
เป็นไฉน ?

สติในข้อนั้น เป็นไฉน ? ความระลึกได้ ความตามระลึกได้ ความ
หวนระลึกได้ ความนึกได้คือสติ ความทรงจำ ความไม่ฟั่นเฟือน ความไม่
หลงลืม นี้เรียกว่า สติ บุคคล ผู้ประกอบแล้วด้วยสตินี้ ชื่อว่า ผู้มีสติอันเข้า
ไปตั้งไว้แล้ว.

2. สัมปชานบุคคล บุคคลผู้มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ?
สัมปชัญญะ ในข้อนั้น เป็นไฉน ? ความรอบรู้ ความรู้ชัด ความ
เลือกเฟ้น ความเลือกสรร ความสอดส่องธรรม ความกำหนดหมาย ความ
เข้าไปกำหนดรู้เฉพาะ ความเป็นผู้รู้ ความฉลาด ความรู้ละเอียด ความรู้
แจ่มแจ้ง ความคิดนึก ความใคร่ครวญ ความรู้กว้างขวาง ความรู้เฉียบขาด
ความรู้นำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ทั่วพร้อม ปัญญาเพียงดังปะฏัก ปัญญินทรีย์
กำลังคือปัญญา ประทีปคือปัญญา รัตนะคือปัญญา ความสอดส่องธรรมคือ
อโมหะ สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยสัมป-
ชัญญะนี้ ชื่อว่า ผู้มีสัมปชัญญะ.
[76] 1.

สีลสัมปันนบุคคล

บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็น
ไฉน ?

ความถึงพร้อมด้วยศีล ในข้อนี้ เป็นไฉน ? การไม่ล่วงละเมิดทาง
กาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทางกายและวาจา นี้เรียกว่า
ความถึงพร้อมด้วยศีล ความสำรวมด้วยศีลแม้ทั้งหมด ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยศีล
บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยศีลสัมปทา ชื่อว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.

2. ทิฏฐิสัมปันนบุคคล บุคคลผู้ถึงพร้อมแล้วด้วย
ทิฏฐิเป็นไฉน ?

ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ในข้อนั้น เป็นไฉน ? ความรอบรู้ ความ
รู้ชัด ฯลฯ ความสอดส่องธรรม คือ อโมหะ สัมมาทิฏฐิเช่นนี้ว่า ทานที่ให้
แล้วมีผล การบูชาใหญ่ (คือมหาทานที่ทั่วไปแก่คนทั้งปวง) มีผล สักการะที่
บุคคลทำเพื่อแขกมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี
โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ผู้อุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้พร้อมเพรียง
กัน ประพฤติดีปฏิบัติชอบที่ รู้ยิ่งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้วประกาศ
ทำให้แจ้งมี นี้เรียกว่า ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่า
ทิฏฐิสัมปทา บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิสัมปทานี้ ชื่อว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ.
[77] 1. ทุลลภบุคคล บุคคลผู้หาได้ยากในโลก 2 จำพวก
เป็นไฉน ?

บุพพการีบุคคล 1. กตัญญูกตเวทีบุคคล 1.
บุคคล 2 จำพวกนี้หาได้ยากในโลก.

อรรถกถาบุคคลผู้หาได้ยาก 2 จำพวก


บทว่า "ทุลฺลภา" ได้แก่ มิใช่บุคคลที่หาได้โดยง่าย.
บทว่า "ปุพฺพการี" ได้แก่ ผู้กระทำอุปการะก่อนนั่นเทียว.
บทว่า "กตเวที" ได้แก่ ประกาศอุปการคุณที่บุคคลอื่นกระทำแล้ว
คือกระทำอุปการคุณให้ปรากฏ.
บัณฑิต พึงแสดงบุคคลทั้ง 2 พวกนั้น ด้วยอาคาริยบุคคล และ
อนาคาริยบุคคล คือ คฤหัสถ์ และ บรรพชิต ก็บรรดาคฤหัสถ์ทั้งหลาย มารดา
และบิดาชื่อว่าบุพพการี (ผู้กระทำอุปการะก่อน) ส่วนบุตรและธิดาผู้ปฏิบัติ